วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

เรื่องการกระจายคำ และการประสมคำ

การกระจายคำ คือ การเเยกส่วนประกอบของคำออกเป็นส่วนๆ ซึ่งคำทุกคำจะต้องประกอบด้วย พยัยชนะ สระ และเสียงวรรณยุกต์ คำบางคำอาจมีตัวสะกด และอักษรการันต์ด้วย เช่น คำ พยัญชนะ สระ ตัวสะกด รูปวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ อักษรการันต์ ก้อง ก ออ ง อ้ โท - ลุ่ม ล อุ ม อ่ โท - น้ำ น อำ - อ้ ตรี - ป๋า ป อา - อ๋ จัตวา - เคราะห์ คร เอาะ - - ตรี ห์ จั่น จ อะ น อ่ เอก - ทุกข์ ท อุ ก - ตรี ข์ แข็ง ข แอะ ง - จัตวา - สวย ส อัว ย - จัตวา - พิมพ์ พ อิ ม - สามัญ พ์ การประสมคำ คือ การนำส่วนประกอบของคำ ได้แก่ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์มาประสมกันเป็นคำ การประสมคำ มี 4 ลักษณะ ได้แก่ 1. การประสม 3 ส่วน หมายถึง การประสมคำโดยมีพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์มาประสมกัน เช่น น้ำ ปู่ โก้เก๋ 2. การประสม 4 ส่วน หมายถึง การประสมคำโดยมีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดมาประสมกัน เช่น นิ้ว มัด โทษ 3. การประสม 4 ส่วนพิเศษ หมายถึง การประสมคำโดยมีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และอักษรการันต์มาประสมกัน เช่น เล่ห์ เคราะห์ โชว์ 4. การประสม 5 ส่วน หมายถึง การประสมคำโดยมีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด และอักษรการันต์มาประสมกัน เช่น แพทย์ ศัพท์ นิพนธ์ พิมพ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น