วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

เรื่องเทคนิคหารเลขเร็ว

เทคนิคหารเลขเร็ว การตั้งหารยาวเป็นวิธีหาผลหารที่เข้าใจง่าย แต่ใช้เวลาคำนวณนาน เราจึงมักเก็บวิธีหารยาวไว้เป็นทางเลือกสุดท้าย ในการทำโจทย์หารเลข เราจะเริ่มจากการเลือกเทคนิคที่เหมาะกับโจทย์ข้อนั้น ทางเลือกแรกคือเทคนิคที่คำนวณง่าย ได้คำตอบเร็ว มีเทคนิคอะไรให้เลือกบ้าง ?

เรื่องการคูณเลข

1.ให้คำนวนบวกลบคูณหารจำนวนสิ่งของ เช่น ดินสอ ยางลบ ของเล่นที่น่าสนใจ พวกตุ๊กกะตุ่น ตุ๊กตา 2.ให้คำนวนบวกลบคูณหารตามรูปภาพ 3.ให้คำนวนบวกลบคูณหารลงใส่กระดาษ 4.การคำนวนค่อยปรับจำนวนตัวเลขให้เพิ่มขึ้น 5.การคำนวนค่อยปรับจำนวนตัวเลขให้เพิ่มขึ้น ที่ละตัวเมื่อทำสำเร็จแล้ว คำนวนไม่เกิน3-5ตัวไปแล้วค่อยเพิ่มทีละนิดอย่าช้าๆจนถึง10ตัว พอชำนาญแล้วปรับรูปแบบการคำนวน จากบวกมาเป็นลบ จากลบมาเป็นคูณ คูณมาเป็นหาร ความจำชั่วคราวเพิ่งหัดเรียนรู้ก็จะสามารถคำนวนได้3-5ตัว ยังไม่เป็นความจำถาวรค่อยฝึกเป็นความจำที่ถาวร การใช้ในชีวิตประจำวันทุกวัน เช้า-กลางวัน-เย็น ก่อนนอน ทุกวัน เน้นทบทวนในภายหลังบ่อยๆนานๆ ก็จะกลายเป็นความจำที่ถาวร

กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่อง เทคนิคการบวกเลขเร็ว

เทคนิคการบวกเลขเร็ว เด็กนักเรียนเริ่มรู้จักตัวอักษร ก, ข, ... พร้อมกับตัวเลข 1, 2, 3 ... และเรียนรู้วิธีสะกดคำ พร้อมกับการนับเลข ตั้งแต่ชั้นอนุบาล แต่เมื่อเรียนจบป.6 ปรากฏว่ามีนักเรียนจำนวนมากที่สามารถอ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องสะกด แต่ไม่สามารถบวกเลขได้โดยไม่ต้องนับ การบวกเลขโดยไม่ต้องนับง่ายกว่าการอ่านคำศัพท์โดยไม่ต้องสะกด เพราะตัวเลขมีเพียง 10 ตัว (0-9) นำมาจับคู่บวกกันได้ 10 x 10 = 100 คู่ (เลข 1 หลัก) แต่ตัวอักษร สระ และวรรณยุกต์มีถึง 44 ตัว นำมาผสมเป็นคำศัพท์ต่าง ๆ ได้มากกว่า 100 คำ ทำไมเด็กสามารถทำสิ่งที่ยากได้ดีกว่าทำสิ่งที่ง่าย ? เป็นเพราะเด็กไม่สนใจเรียนคณิตศาสตร์ หรือเป็นเพราะเราให้ความสำคัญกับการเรียนภาษามากกว่าคณิตศาสตร์ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะพัฒนาความสามารถของเด็กให้บวกเลขได้เร็วเหมือนอ่านหนังสือโดยไม่ต้องสะกด ?

เรื่องมาตราตัวสะกด

แม่ ก กา คำในแม่ ก กา เป็นคำที่ไม่มีพยัญชนะเป็นตัวสะกด ท้ายคำ หรือ ท้ายพยางค์ อ่านออกเสียงสระโดยไม่มีเสียงพยัญชนะ ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ ก กา กติกา โกลี คร่ำคร่า เคอะ เงอะงะ เฉโกโว้เว้ ซาฟียะห์ น้ำบูดู ปรานี ไม่เข้ายา โยทะกา เรือกอและ เล้า โสภา หญ้าคา อาชา แม่ กง พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กง คือ อ่านอย่างเสียง ง ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กง กองกลาง โขมง คล้องจอง คูปอง จ้องหน่อง ฉิ่ง ตะราง ตุ้งติ้ง ประลอง พิธีรีตอง มะเส็ง แมงดา รำพึง สรงน้ำ สำเนียง แสลง แม่ กม พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กม คือ อ่านออกเสียง ม ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กม กระหม่อม คำราม จริยธรรม ชมรม ถล่ม ทะนุถนอม ทิม ทุ่ม บรรทม บังคม เปรมปรีดิ์ พฤติกรรม ภิรมย์ แยม หยาม อาศรม แม่ เกย พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่เกย คือ อ่านออกเสียง ย ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ เกย กระจ้อยร่อย ข่าย ชีวาลัย ทยอย นโยบาย เนย เนื้อทราย เปรียบเปรย พระทัย โพยภัย ภูวไนย เสวย มโนมัย วินัย สาหร่าย อาชาไนย แม่ เกอว พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่เกอว คือ อ่านออกเสียง ว

เรื่องการกระจายคำ และการประสมคำ

การกระจายคำ คือ การเเยกส่วนประกอบของคำออกเป็นส่วนๆ ซึ่งคำทุกคำจะต้องประกอบด้วย พยัยชนะ สระ และเสียงวรรณยุกต์ คำบางคำอาจมีตัวสะกด และอักษรการันต์ด้วย เช่น คำ พยัญชนะ สระ ตัวสะกด รูปวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ อักษรการันต์ ก้อง ก ออ ง อ้ โท - ลุ่ม ล อุ ม อ่ โท - น้ำ น อำ - อ้ ตรี - ป๋า ป อา - อ๋ จัตวา - เคราะห์ คร เอาะ - - ตรี ห์ จั่น จ อะ น อ่ เอก - ทุกข์ ท อุ ก - ตรี ข์ แข็ง ข แอะ ง - จัตวา - สวย ส อัว ย - จัตวา - พิมพ์ พ อิ ม - สามัญ พ์ การประสมคำ คือ การนำส่วนประกอบของคำ ได้แก่ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์มาประสมกันเป็นคำ การประสมคำ มี 4 ลักษณะ ได้แก่ 1. การประสม 3 ส่วน หมายถึง การประสมคำโดยมีพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์มาประสมกัน เช่น น้ำ ปู่ โก้เก๋ 2. การประสม 4 ส่วน หมายถึง การประสมคำโดยมีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดมาประสมกัน เช่น นิ้ว มัด โทษ 3. การประสม 4 ส่วนพิเศษ หมายถึง การประสมคำโดยมีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และอักษรการันต์มาประสมกัน เช่น เล่ห์ เคราะห์ โชว์ 4. การประสม 5 ส่วน หมายถึง การประสมคำโดยมีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด และอักษรการันต์มาประสมกัน เช่น แพทย์ ศัพท์ นิพนธ์ พิมพ์

กลุ่มสระภาษาไทย เรื่องสระ

สระในภาษาไทย 

         สระ แบ่งตามการออกเสียง เป็นสระเสียงสั้น และสระเสียงยาว สระเสียงสั้นมี 18 เสียง ได้แก่ อะ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ไอ ใอ เอา สระเสียงยาว มี 14 เสียง ได้แก่ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤา ฦา การใช้สระในภาษาไทย แบ่งเป็น 3 แบบ เช่น 2.1 แบบคงรูป คือ นำไปประสมกับพยัญชนะโดยไม่เปลี่ยนรูป เช่น ด + อำ = ดำ ต + เเอะ = แตะ ต + อา = ตาเสือ ส + เอือ = เสือ 2.2 แบบเเปลงรูปหรือเปลี่ยนรูป คือ รูปสระบางตัวจะเปลี่ยนไปเมื่อมีตัวสะกด เช่น ร + อะ + ก = รัก ห + เอะ + น = เห็น ด + ออ + น = เดิน ข + แอะ + ง = แข็ง 2.3 แบบลดรูป คือ รูปสระบางตัวจะหายไป เมื่อนำสระมาประสมกับพยัญชนะและตัวสะกด เช่น ม + โอะ + ด = มด พ + ออ + ร = พร ข + เออ + ย =เขย ส + อัว + ย = สวย